ที่ห้องมันรกก็เพราะเรามีของที่ไม่ได้ใช้มากเกินไป การเคลียร์ของที่ไม่ใช้ทิ้งไปคือก้าวแรกที่จะช่วยจัดระเบียบห้องของเราให้ดูดีขึ้น แล้วของแบบไหนที่เราควรจะทิ้งหรือเก็บไว้ ?
ของที่สามารถทิ้งได้
• ของที่คิดว่าอาจได้ใช้สักวัน (แต่ก็ไม่มีวันนั้น)
• ของที่เห็นหรือหยิบจับแล้วรู้สึกไม่ดี
• ของที่เคยใช้ เคยมีประโยชน์ แต่ตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้ว
• ของที่ชำรุด แตกหัก หรือหมดอายุแล้ว
• ของที่ไม่ได้ใช้และไม่สนใจ ไม่เคยรู้ว่ามีอยู่ด้วย
เคล็ดลับในการเคลียร์ของก็คืออย่ารู้สึกเสียดายสิ่งของ ถ้ามันไม่ได้ใช้เลยหรืออย่าคิดว่าสักวันจะต้องได้ใช้แน่ เพราะถ้ามันวางไว้เฉย ๆ มาหลายเดือนหรือหลายปีแล้วก็เป็นอันรู้กันว่าทิ้งเถอะ
เราสามารถจัดห้องให้เป็นระเบียบได้ง่าย ๆ ด้วยกฎ 7 : 5 : 1 ซึ่งเป็นสัดส่วนของพื้นที่จัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ห้องดูกว้างและน่าอยู่มากขึ้น
• 7 ส่วน คือควบคุมให้มีข้าวของในตู้แบบปิด 7 ส่วน เช่น ตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของ เป็นต้น และมีพื้นที่ว่าง 3 ส่วน
• 5 ส่วน คือควบคุมให้มีข้าวของในชั้นแบบเปิด 5 ส่วน เช่น ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางเครื่องประดับ เป็นต้น และมีพื้นที่ว่าง 5 ส่วน
• 1 ส่วน คือควบคุมให้มีข้าวของในพื้นที่ที่ต้องการโชว์ 1 ส่วน เช่น ตู้โชว์ของ พื้นห้อง เป็นต้น และมีพื้นที่ว่าง 9 ส่วน
เมื่อเรากำหนดสัดส่วนการจัดวางข้าวของในห้องได้แล้วตามกฎ 7 : 5 : 1 ต่อมาก็จะเป็นการจัดระเบียบสิ่งของให้สามารถหยิบใช้ได้ง่าย แถมยังช่วยให้ห้องดูสวยและเป็นระเบียบมากขึ้นด้วย
เทคนิคจัดระเบียบสิ่งของ
• ของประเภทเดียวกันให้เก็บไว้ด้วยกัน
• นำของที่หยิบใช้บ่อย ๆ มาจัดไว้ด้วยกัน
• วางของไว้ในที่ ๆ หยิบใช้ได้สะดวก
• เก็บของตามการใช้งานของตัวเอง เช่น มุมขวาในตู้เสื้อผ้าคือเสื้อแขนสั้นใส่ไปข้างนอก เป็นต้น
ทุกครั้งที่จัดห้องเรามักจะเจอสิ่งของที่ไม่ได้ใช้แล้วเยอะมาก ๆ ถ้าของสิ่งนั้นยังมีสภาพดี สามารถนำไปใช้ต่อได้อีก แนะนำว่าให้่ส่งต่อสิ่งของ เช่น ขายของมือสอง นำไปบริจาค หรือจะลองครีเอท D.I.Y เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ก็ได้
เพียงทำตาม 4 ขั้นตอนนี้ ห้องของเราก็จะดูเป็นระเบียบ สะอาด และน่าอยู่มากขึ้น แถมยังช่วยให้หยิบของใช้ได้สะดวกกว่าเดิม ที่สำคัญคือเมื่อห้องของเราเป็นระเบียบ โปร่ง โล่ง ตัวเราก็จะรู้สึกดีไปด้วย ถ้าไม่เชื่อก็ลองจัดห้องให้เป๊ะขึ้นดูซิ !
แหล่งข้อมูล
- Suzuki Junko. (2559). ลด โละ ละ 1: ยิ่งทิ้งยิ่งได้. แปลจาก Danshari-an Ni Narou. แปลโดยอังคณา รัตนจันทร์. กรุงเทพฯ: อินสปายร์